โรงงานผลิตพืช มิติใหม่ภาคเกษตกรไทย



โรงงานผลิตพืช
มิ ติ ใ ห ม่ ภ า ค เ ก ษ ต ก ร ไ ท ย 

โรงงานผลิตพืช คำนี้อาจจะเป็นคำใหม่ในธุรกิจการเกษตรของไทย แต่คำนี้อาจจะเป็นที่คุ้นหูในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ด้วยเหตุผลของ ผลิตผล ของเกษตรในแบบโรงงานผลิตพืชรองรับทิศทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมของประเทศ คือ Bioeconomy เป็นสินค้าที่เพิ่มคุณค่าตามที่ตลาดต้องการได้มากกว่าสินค้าเกษตรจากแปลงเกษตรแบบดั้งเดิม ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ศึกษาถึงทิศทาง และคุณลักษณะของธุรกิจประเภทนี้มานำเสนอสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ และกำลังมองหาอุตสาหกรรมเพื่อการลงทุนในตลาดที่มีศักยภาพ 

จากปัญหาการทำการเกษตรในปัจจุบันที่ต้องเผชิญข้อจำกัดต่างๆ ทั้งสภาพอากาศที่แปรปรวน พื้นที่ทางการเกษตรที่มีจำกัด ตลอดจนปัญหาแรงงานในภาคการเกษตรที่มีแนวโน้มลดลง ล้วนส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรที่ยากต่อการควบคุม ดังนั้น เทคโนโลยีการผลิตพืชสมัยใหม่ที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจอย่างมากคือ โรงงานผลิตพืช (Plant Factory) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาดังกล่าว เพราะเป็นการผลิตพืชในรูปแบบใหม่ที่เป็นระบบปิด สามารถควบคุมการปลูกพืชได้อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงสามารถกระตุ้นให้พืชหลั่งสารสำคัญ/สารออกฤทธิ์บางอย่างที่ต้องการ เพื่อเพิ่มอัตราการผลิตให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ และมีความสม่ำเสมอ มีมาตรฐานสูง ด้วยการใช้แสงไฟ LED เป็นแหล่งกำเนิดของแสง นับเป็นเทรนด์การปลูกพืชรูปแบบใหม่ของโลกที่น่าสนใจ ซึ่งไทยสามารถนำมาปรับใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับภาคเกษตรของไทยในอนาคต

สำหรับในประเทศไทย ด้วยพื้นที่ทางการเกษตรที่มีมากกว่า 138 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 43.0 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ ทำให้โรงงานผลิตพืชเพิ่งได้รับความสนใจไม่นานนัก และยังอยู่ในระยะเริ่มต้น เนื่องจากต้นทุนยังสูง อยู่ที่ราว 3.0 ล้านบาท ผนวกกับความรู้ด้านเทคโนโลยีที่ยังจำกัด โดยอยู่เฉพาะกลุ่มอย่างสถาบันการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ จึงยังไม่ได้มีการดำเนินการในลักษณะเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ โรงงานผลิตพืชของไทยอาจไม่เหมาะกับการปลูกพืชเกษตรทั่วไป เนื่องจากไทยผลิตได้จำนวนมากอยู่แล้ว ดังนั้น โรงงานผลิตพืชของไทยจึงต้องเน้นไปที่กลุ่มพืชมูลค่าสูง ที่สามารถนำมาสกัดได้สารสำคัญเป็นสารตั้งต้น เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงได้ (High-end Product) อย่างกลุ่มพืชสมุนไพร และกลุ่มพืชที่สามารถนำมาสกัดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ซึ่งจะสอดรับกับการสนับสนุนของนโยบายรัฐบาลตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ซึ่งมีความเชื่อมโยงอยู่ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่ภาครัฐให้การสนับสนุนมากถึง 5 อุตสาหกรรม คือ เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ, การแปรรูปอาหาร, เชื้อเพลิงชีวภาพ และเคมีชีวภาพ การแพทย์ครบวงจร, ท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และท่องเที่ยวสุขภาพ


ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในอีก 3-7 ปีข้างหน้า (ปี 2565-2569) ไทยจะมีการนำโรงงานผลิตพืชเข้ามาประยุกต์ใช้ในภาคเกษตรแพร่หลายเพิ่มขึ้น และสามารถทำในลักษณะการค้าเชิงพาณิชย์ได้ ตามแนวทางรูปแบบของภาครัฐและเอกชนที่ได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว ผนวกกับการที่ภาครัฐมีการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรไทย และสนับสนุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่น่าจะมีความสำเร็จที่ชัดเจนขึ้น ตลอดจนกลุ่มทุนมีการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเทรนด์ของสินค้าจำพวกเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มแพร่หลายมากขึ้น และมีราคาถูกลง ทำให้คาดว่า โรงงานผลิตพืชจะเริ่มแพร่หลาย ตั้งแต่ปี 2565-2569 โดยต้นทุนโรงงานผลิตพืชอาจลดลงราวร้อยละ 20 ต่อปี อยู่ที่ 1.0-2.4 ล้านบาท จากต้นทุนในช่วงระยะเริ่มต้นที่ราว 3 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ผู้ที่สนใจในธุรกิจ  โรงงานผลิตพืชเข้าสู่ธุรกิจได้ง่ายขึ้น 

ทั้งนี้ จากแนวโน้มการเข้ามาของผู้ที่สนใจธุรกิจโรงงานผลิตพืชในระยะข้างหน้าที่น่าจะง่ายขึ้น สอดคล้องกับการคำนวณในรูปเปรียบเทียบการทำงานของโรงงานผลิตพืช และโรงเรือนทั่วไป ในปี 2562 (ระยะเริ่มต้น) และปี 2569 (ระยะแพร่หลาย) แสดงให้เห็นว่า ในแง่ของผลผลิตและประสิทธิภาพแรงงานของโรงงานผลิตพืชจะมีมากกว่าการปลูกพืชในโรงเรือนทั่วไป 

ที่สำคัญคือ ในแง่ของปัจจัยด้านต้นทุนการผลิตรวมที่ต้องยอมรับว่าผู้ประกอบการโรงงานผลิตพืชหน้าใหม่อาจต้องเผชิญอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด (Barrier to Entry) ในจำนวนเงินลงทุนที่ค่อนข้างสูงในปีแรก และสูงกว่าโรงเรือนทั่วไปราว 1.9 เท่า แต่คาดว่าในอีก 7 ปีข้างหน้า โรงงานผลิตพืชจะมีต้นทุนการผลิตรวมที่ลดลง ขณะที่ต้นทุนการผลิตรวมของโรงเรือนทั่วไปจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จนทำให้ต้นทุนรวมของทั้งโรงงานผลิตพืชและโรงเรือนทั่วไปมีตัวเลขที่ใกล้เคียงกันมากขึ้น คือโรงงานผลิตพืชมีต้นทุนการผลิตรวมสูงกว่าโรงเรือนทั่วไปราว 1.1 เท่า ขณะที่ในแง่ของต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของโรงงานผลิตพืชจะยังมีแนวโน้มลดลง และต่ำกว่าต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของโรงเรือนทั่วไปด้วย โดยโรงงานผลิตพืชจะมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยถูกกว่าโรงเรือนทั่วไปราว 2.0 เท่า ในปี 2569 จาก 1.3 เท่าในปี 2562 
ก็จะยิ่งเป็นปัจจัยดึงดูดให้โรงงานผลิตพืชเป็นธุรกิจที่มีแนว
โน้มน่าลงทุนมากขึ้นในระยะข้างหน้า ••
ขอบคุณ: ข้อมูลศูนย์วิจัยกสิกรไทย






   

   


สนใจ!!! ติดตามช่องทางดังนี้
.........................................
✅Website: https://www.domnickhunterrl.com/
✅Facebook: https://goo.gl/bZa4We
✅Youtube: https://goo.gl/8gvuS7
✅Instagram: https://goo.gl/MQqkEq
✅Twitter: https://goo.gl/GmkUVb
✅Line@: https://goo.gl/9Wen3g
.........................................




Comments