“Air Compressor”



“Air Compressor” คือ ปั๊มลม มีหน้าที่ในการอัดลมให้มีแรงดันสูงตามที่ต้องการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์และประยุกต์ใช้ได้หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นระบบลมในโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การใช้งานระบบนิวเมติกส์ในอุตสาหกรรมเล็กๆ

ยกตัวอย่างเช่นอู่ซ่อมรถยนต์ ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่จะใช้เป็นปั๊มลมประเภทลูกสูบ ที่มีการใช้ปริมาณลมน้อยและแรงดันลมไม่สูง ปั๊มลมประเภทลูกสูบจึงเหมาะกับอุตสาหกรรมเล็กๆ

ส่วนเครื่องปั๊มลมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนมากแล้วจะใช้เป็นปั๊มลมประเภทโรตารีสกรู ที่ให้ปริมาณลมที่มาก และยังสามารถทำความดันลมได้สูงถึง 13 บาร์

เอกลักษณ์ของ Air compresser GD แต่ละรุ่น แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ด้วยกัน ดังนี้
1. ปั๊มลมประเภทลูกสูบ (Reciprocating Air Compressor)
2. ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม (Diaphragm Air Compressor)
3. ปั๊มลมประเภทสกรู (Screw Air Compressor)
4. ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor)
5. ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)
6. ปั๊มลมประเภทกังหัน (Redial and axial flow Air Compressor)
โดยส่วนใหญ่แล้วปั๊มลมที่นิยมใช้กันมี 2 ประเภทได้แก่ ปั๊มลมประเภทลูกสูบ และ ปั๊มลมประเภทสกรู จะเห็นตามอู่ซ่อมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และในโรงงานอุตสาหกรรม
1. ปั๊มลมประเภทลูกสูบ (Piston Air Compressor)
      หลักการทำงานปั๊มลมลูกสูบ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังมาขับเคลื่อนลูกสูบให้เคลื่อนที่ขึ้นลง ทำให้เกิดแรงดูดและอัดอากาศภายในกระบอกสูบ โดยมีวาล์วทางด้านดูดและวาล์วทางออกทำงานสัมพันธ์กัน ถือเป็นปั๊มลมที่นิยมใช้งานมากที่สุดด้วยความเหมาะสมต่อการใช้งานและราคาที่ไม่สูงมากนักและยังสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกอีกด้วย
      โดยแรงอัดจะขึ้นอยู่กับจำนวนขั้นของการอัด ยิ่งขึ้นในการอัดมากก็จะสามารถสร้างแรงอัดได้สูงขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง ปั๊มลมแรงดันสูงแต่ให้เสียงที่เงียบ เพราะโดยปกติแล้วปั๊มลมประเภทลูกสูบนั้นจะมีข้อเสียอย่างหนึ่งคือเสียงดังขณะเครื่องทำงานปั๊มลมประเภทลูกสูบมีขายหลากหลายยี่ห้อในท้องตลาด ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็มีข้อดีแตกต่างกันไป และ มีการรับประกันที่ยาวนานและมีบริการหลังการขายอีกด้วย
       
ก่อนจะตัดสินใจซื้อปั๊มลมประเภทลูกสูบ ควรศึกษาคุณสมบัติข้อดี ข้อด้อยของแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อก่อน และเปรียบเทียบราคาให้เหมาะสมก่อนตัดสินใจซื้อ


2. ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม (Diaphragm Air Compressor)
      ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม เป็นปั๊มลมที่ใช้หลักการทำงานของคล้ายลูกสูบแต่จะมีแผ่นไดอะแฟรมเป็นตัวกั้นไม่ให้อากาศสัมผัสกับลูกสูบทำให้ลมที่ถูกดูดเข้าไปในปั๊มหรือเครื่องอัดลมจะไม่โดนหรือสัมผัสกับส่วนที่เป็นโลหะ ส่วนลมที่ได้ก็จะไม่มีการผสมกับน้ำมันหล่อลื่นสามารถสร้างแรงดันได้สูงคล้ายปั๊มลูกสูบขึ้นอยู่กับการออกแบบขั้นในการอัด ปั๊มลมชนิดนี้ ก็มีข้อดีอยู่เหมือนกัน
      
คือลมที่ได้ออกมาจะเป็นลมที่สะอาดไม่มีอะไรปนเปื้อน จึงมีการนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน เช่น อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมอาหาร ใช้ปั๊มเพื่อสงสารเคมีต่างๆ เป็นต้น ข้อดีอีกอย่างคือมีเสียงที่เงียบกว่าปั๊มลมแบบลูกสูบ เหมาะกับอุตสาหกรรมที่ต้องการความเงียบและเสียงรบกวนน้อย


3. ปั๊มลมประเภทสกรู (Screw Air Compressor)
      ปั๊มลมประเภทสกรู เป็นที่นิยมในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป เพราะเครื่องปั๊มลม หรือ Air Compressor ประเภทนี้จะให้การผลิตลมที่มีคุณภาพสูงโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังในการหมุนเพลาสกรู 2 ตัวให้หมุนเข้าหากันทำให้เกิดแรงอัดอากาศขึ้นมาเครื่องอัดลมแบบสกรูจะได้ปริมาณลมที่สม่ำเสมอกว่าแบบลูกสูบ
      และทั้งนี้ปริมาณลมและแรงดันลมขึ้นอยู่กับกำลังของมอเตอร์และการออกแบบชุดสกรูยิ่งกำลังสูงตัวเครื่องอัดอากาศก็จะสามารถผลิตปริมาณอากาศได้มากและมีขนาดที่ใหญ่ตามด้วย เครื่องปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศประเภทนี้จะสามารถจ่ายลม


4. ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor)
       ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน จุดเด่นของปั๊มลมประเภทนี้คือการที่เครื่องหมุนเรียบให้ความสม่ำเสมอ ทำให้อากาศที่ออกมามีแรงดันที่คงที่เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงลมที่สม่ำเสมอและคงที่ เครื่องปั๊มลมประเภทนี้จะไม่มีลิ้นหรือวาล์วในการเปิดปิดในพื้นที่จำกัดทำให้ไวต่อความร้อน

5. ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)
      ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน ลักษณะของปั๊มลมประเภทนี้จะมีใบพัดหมุน 2 ตัว เมื่อโรเตอร์ 2 ตัวทำการหมุน จะทำให้ลมถูกดูดเข้าไปจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่งโดยอากาศที่ถูกดูดเข้าไปนั้นจะไม่มีการเปลี่ยนปริมาตร ทำให้อากาศที่ไม่ถูกบีบหรืออัดตัว แต่อากาศจะมีการอัดตัวตอนที่เข้าไปเก็บในถังลม
      
ปั๊มลมประเภทนี้ต้องอาศัยการระบายความร้อนและอุณหภูมิที่ดี ไม่มีลิ้น ไม่ต้องการหล่อลื่นขณะทำงาน และมีต้นทุนการผลิตที่สูงลักษณะการทำงานของปั๊มลมแบบใบพัดหมุน จะใช้ใบพัดหมุน 2 ตัวทำการหมุน ทำให้มีการดูดอากาศจากทางช่องลมเข้าผ่านเข้าใบพัดที่ 1 แล้วส่งต่อไปพัดที่ 2 แล้วผ่านไปฝั่งลมออก โดยไม่ทำให้อากาศถูกบีบตัวหรืออัดตัว


6. ปั๊มลมประเภทกังหัน (Redial and axial flow Air Compressor)
      ปั๊มลมประเภทกังหัน เป็นปั๊มลมอีกประเภทหนึ่งที่มีการจ่ายอัตราลมที่มาก เนื่องจากลักษณะจะเป็นใบพัดกังหันดูดลมเข้าจากอีกด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ตามแกนด้วยการหมุนที่มีความเร็วสูง และลักษณะของใบพัดก็เป็นส่วนสำคัญเรื่องอัตราการจ่ายลม

สนใจสอบถามเพิ่มเติม 02-678-2224 ต่อ346
www.domnickhunterrl.com
Line@: domnickhunterrl

Comments