Unlocking business potential through Innovation Excellence Framework



Unlocking business potential through Innovation Excellence Framework
ไขความลับสู่ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมจากสิงคโปร์


 “สิงคโปร์” เป็นหนึ่งประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่โดดเด่นในเรื่องการขับเคลื่อนประเทศด้วยการเพิ่มผลิตภาพ หรือ Productivity ซึ่งนำพาให้สิงคโปร์ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้วางแนวคิดไว้ว่า Productivity ถือเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อความก้าวหน้าแห่งอนาคต ทำให้สิงคโปร์มุ่งมั่นที่จะปรับโฉมรูปแบบเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานด้วยการเสริมสร้างทักษะของบุคลากร
รัฐบาลสิงคโปร์ได้ผลักดันเรื่องการเพิ่มผลิตภาพอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการสร้างเส้นทางสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจ (Roadmap of the Business Excellence) เพื่อให้องค์กรรู้จุดแข็งและขอบเขตในการปรับปรุงงาน นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจขององค์กรต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืน รวมทั้งความสมดุลในด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม (Triple Bottom Line)
สำหรับหนึ่งในวิทยากรคนสำคัญจากประเทศสิงคโปร์ที่สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติได้มีโอกาสเรียนรู้แนวทางการเพิ่มผลิตภาพอย่างเป็นรูปธรรม และเห็นผลลัพธ์แห่งความสำเร็จคือ มร.ลิม บูน วัตต์ (Mr. Lim Boon Whatt) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการประเมินองค์กรตามกรอบความเป็นเลิศทางธุรกิจ (Lead Business Excellence Assessor) ของหน่วยงาน Standards  Productivity and Innovation for Growth หรือ SPRING Singapore โดยได้ตรวจประเมินองค์กรเพื่อมอบรางวัลความเป็นเลิศทางธุรกิจให้แก่องค์กร ทั้งในภาคอุตสาหกรรมการผลิต สาธารณสุขและการบริการ ตลอดจนภาคการศึกษามาอย่างยาวนาน และยังได้ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการ Supply Chain ตลอดจนพัฒนาความเป็นเลิศทางธุรกิจของบริษัท Philips ประเทศสิงคโปร์ จนทำให้ได้รับรางวัลความเป็นเลิศทางด้านนวัตกรรมแห่งประเทศสิงคโปร์ หรือ Singapore Innovation Excellence Award
รางวัลSingapore Innovation Excellence Award ถือเป็นหนึ่งในThe Business Excellence (BE) Framework ที่องค์กรต่างๆ ในประเทศสิงคโปร์ต่างสมัครขอรับรางวัลกันอย่างแพร่หลาย เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มรางวัลประเภท Niche ที่ให้แก่องค์กรที่มีการบริหารจัดการโดดเด่น ในด้าน Innovation ส่วนเป้าหมายสูงสุดของ BE Framework ดังกล่าวอยู่ที่รางวัล Singapore Quality Awards นั่นเอง
สำหรับในเมืองไทยบ้านเรานั้น ถ้าท่านคุ้นเคยกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ หรือ Thailand Quality Award (TQA)   อยู่แล้ว เรื่อง Innovation Excellence Framework นี้จึงถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่เลย เนื่องจากหนึ่งในค่านิยมและแนวคิดหลักของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติได้ให้ความสำคัญในเรื่องการจัดการเพื่อนวัตกรรม (Managing for Innovation) รวมทั้งในหมวดกลยุทธ์ ยังได้มีการระบุถึงนวัตกรรม (Innovation) โดยพิจารณาว่ากระบวนการจัดทำกลยุทธ์ขององค์กรจะช่วยกระตุ้นและทำให้เกิดนวัตกรรมได้อย่างไร
เราจึงจะเห็นได้ว่าการดำเนินธุรกิจตามแนวทางกรอบการบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศด้านนวัตกรรม (Innovation Excellence Framework) เป็นพื้นฐานของการปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง และช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด ทุกคนในองค์กรเกิดความตระหนักและร่วมมือกันเพื่อให้สามารถพัฒนาองค์กรให้มีความเป็นเลิศทางธุรกิจและเมื่อปลายทางขององค์กรทั้งหลายคือการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการเพื่อตอบโจทย์คำว่า ความยั่งยืน เราจึงจะต้องหล่อเลี้ยงให้เกิดการสร้างนวัตกรรมขึ้นภายในองค์กร
หันกลับมาพิจารณาถึง Innovation Excellence Frameworkที่มร.ลิม บูน วัตต์ให้ความสำคัญ ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ ทั้ง 6 เรื่อง ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่
·       Leadership 
               มร.ลิม บูน วัตต์ เน้นความสำคัญของปัจจัยด้าน Leadership โดยให้คำนึงถึงบุคลากรทุกระดับในการสร้างนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนในองค์กร และให้พิจารณาที่บทบาทมากกว่าตำแหน่ง ซึ่งไม่ใช่ว่าตำแหน่งหัวหน้างานถึงจะเป็นผู้นำในเรื่องนี้ได้เท่านั้น และ Leadership ยังเป็นปัจจัยที่สร้างทิศทางขององค์กร รวมทั้งช่วยขับเคลื่อนกระบวนการทางความคิดหรือ Mindset ของความเป็นเลิศอีกด้วย
·       Customers
ปัจจัยต่อมา ลูกค้า หรือ Customer คือการพิจารณาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้าเพื่อจะได้สร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุด
·       Strategy, People,  Process
ในเรื่องกลยุทธ์ หรือ Strategy จำเป็นต้องคิดจากความเข้าใจในเรื่องความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือ Stakeholder ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาบุคลากรและกระบวนการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการในที่สุด
·       Knowledge
ปัจจัยสุดท้าย ความรู้ หรือ Knowledge จะช่วยสนับสนุนในเรื่องการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในองค์กร ตลอดจนเป็นสิ่งที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้เกิดการพัฒนา
ทว่า Innovation Excellence Framework อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายขององค์กรต่าง ๆ ที่จะตอบโจทย์แค่การสร้างนวัตกรรมภายในองค์กร แต่นำไปสู่อีกหนึ่งคำถามว่า องค์กรจะต้องดำเนินการอย่างไรให้นวัตกรรมที่เกิดขึ้นมาแล้วนั้นมีความยั่งยืน

               มร.ลิม บูน วัตต์ ได้ให้คำแนะนำถึงแนวทางในการสร้างนวัตกรรมที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Innovation โดยชี้ให้เห็นถึงคำสำคัญอย่าง Holistic Model หรือโมเดลแบบองค์รวม ซึ่งจะทำให้การสร้างนวัตกรรมเป็นไปอย่างยั่งยืน ในที่นี้ โมเดลแบบองค์รวม คือการที่ทุกภาคส่วนจะต้องเชื่อมโยงเข้าหากัน และสนับสนุนซึ่งกันและกันด้วย
               ลำดับต่อมาคือวิสัยทัศน์ในการสร้างนวัตกรรมควรมาจาก Senior Leaders เพื่อให้สามารถเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างการทำกลยุทธ์และการลงมือทำในระดับปฏิบัติการ
               ส่วนสิ่งที่ต้องพึงระวังในการสร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนนั้น มร.ลิม บูน วัตต์ กล่าวถึงเรื่องวัฒนธรรมภายในองค์กร และกระบวนการทางความคิด หรือ Mindset ของบุคลากรในองค์กรว่าอาจจะกลายเป็นสิ่งที่ขัดขวางการสร้างความคิดในเชิงนวัตกรรมและสร้างสรรค์ได้ จึงควรสร้างนวัตกรรมในรูปแบบหนุนนำบุคลากรให้มีจิตวิญญาณของการเป็นนักบริหารและสร้างนวัตกรรม
……………………………….
ขอบคุณข้อมูล : งานสัมมนา Design Thinking and Innovation Excellence Framework: A Road to Organizational Success

Comments