โลกเปลี่ยน องค์กรต้องปรับ เพื่อรับมือ “Aging Workforce”




โลกเปลี่ยน องค์กรต้องปรับ เพื่อรับมือ “Aging Workforce
สถานการณ์ทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันทางธุรกิจที่ทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องอายุเฉลี่ยแรงงานในระบบที่มีอายุสูงขึ้น อัตราการเกิดลดลง เทคโนโลยีที่มุ่งเน้นความเป็นดิจิทัลมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกซึ่งนำไปสู่การลดลงของทรัพยากรเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ถึงเวลามาเจาะลึกกันถึงหนึ่งในประเด็นร้อนที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกอยู่ในขณะนี้ อย่าง “การเพิ่มขึ้นของแรงงานวัยกลางคน” ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความจริงที่ว่า แนวโน้มอัตราการเกิดน้อยลง กลุ่มผู้สูงอายุจึงมีจำนวนมากขึ้น สังเกตได้จากประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศสิงคโปร์ ที่มีอัตราผู้สูงวัยประมาณ 18% ตามมาด้วยประเทศไทย 16% และเวียดนามอยู่ที่ 10% สำหรับประเทศไทย ประชากรวัยทำงานของไทยจะเริ่มลดลงเป็นครั้งแรกในประวัติการณ์ ในปีค.ศ. 2018 เนื่องจากอัตราการเกิดที่ต่ำทำให้ประชากรใหม่ไม่สามารถทดแทนแรงงานที่เกษียณอายุในแต่ละปีได้
แล้วเพราะเหตุใด สถานการณ์โลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปนี้ จึงกลายเป็นเรื่องใหญ่ ?
แน่นอนว่าแรงงานวัยกลางคนจะมีความเปลี่ยนแปลงทางจิตวิทยาสังคม เพราะมีความพอใจ รูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างจากแรงงานช่วงอายุอื่น ๆ  และบางครั้งอาจมีประสบการณ์ถูกลิดรอนสิทธิ และไม่ผูกพันกับงานตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและสุขภาพที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน
“แต่ในขณะเดียวกัน แรงงานวัยกลางคนในองค์กรถือเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ทรงคุณค่า เนื่องจากมีประสบการณ์ในการทำงานสูง ประกอบกับมีวุฒิภาวะในการตัดสินใจ และมีการบริหารจัดการงานต่างๆ  รวมทั้งยังมีความเป็นมืออาชีพจากการสั่งสมความเชี่ยวชาญในการทำงานมาตลอดระยะเวลาหลายปีและยังสามารถรักษาจรรยาบรรณวิชาชีพของตนเองไว้ได้เป็นอย่างดี"
นอกจากนี้ ถึงแม้องค์กรจะต้องปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่ ไม่ว่าจะเป็น The Internet of Things ตลอดจนการนำระบบอัตโนมัติ หรือ Automation เข้ามาใช้ในการบูรณาการระบบต่าง ๆ แต่ถึงกระนั้นเทคโนโลยีต่าง ๆ ก็ไม่สามารถแทนที่ในกระบวนการต่าง ๆ ได้ทั้ง 100% ส่วนที่ยังมีการนำเทคโนโลยีเข้ามายากคือด้านการบริหารจัดการ ความเชี่ยวชาญเฉพาะ งานที่ต้องอาศัยการแก้ปัญหาอย่างซับซ้อน งานที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ของคน ซึ่งถือเป็น “ทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นในอนาคต” ตามรายงานของเว็บไซต์ World Economic Forum
องค์กรจึงต้องปรับตัวให้เข้ากันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ด้วยการพัฒนาแนวทางที่ส่งเสริมให้ “องค์กรเกิดความสมดุลในด้านอัตรากำลังคน”เพื่อบุคลากรทุกช่วงวัยทำงานภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ “แรงงานวัยกลางคน” มีจำนวนเพิ่มขึ้น
สำหรับแนวทางดำเนินการขององค์กรที่มีการบริหารจัดการแรงงานวัยกลางให้พัฒนาทักษะเพื่อตอบรับกับเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มตั้งแต่สร้างเงื่อนไขหรือสภาพการทำงานที่ยืดหยุ่นให้แก่แรงงานวัยกลางคน (Flexible, half-retirement) ตลอดจนเพิ่มกระบวนการทำงานที่เป็นอัตโนมัติมากขึ้น จนถึงประเด็นสำคัญ การฝึกและเพิ่มพูนทักษะการทำงานใหม่โดยคำนึงถึงความต้องการแรงงานในอนาคต หรือเครื่องมือและระบบใหม่ รวมทั้งพยายามออกแบบงานและบทบาทการทำงานใหม่ให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่ผ่านการปรับปรุงลักษณะงาน (Creating new positions or adapting old ones) และสุดท้าย ควรปรับปรุงสภาพการทำงานด้วยหลักการยศาสตร์ ที่เอื้อต่อลักษณะกายภาพของแรงงานสูงวัย (Changing workplace ergonomics)

www.domnickhunterrl.com


Comments