Digital Lean Ways พลิกโฉมภาคอุตสาหกรรมสู่ 4.0



Digital Lean Ways พลิกโฉมภาคอุตสาหกรรมสู่ 4.0

การเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรม 4.0 เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต เครื่องจักรสามารถคุยกับเครื่องจักรได้ นำไปสู่การเพิ่มศักยภาพในการทำงาน เกิดความรวดเร็วในการตอบสนองต่อลูกค้าแบบ Real-time เพื่อสอดรับกับความต้องการของลูกค้าในอนาคต
และเมื่อนำการใช้แนวคิดการบริหารจัดการแบบ Lean เข้ามาผสมผสานกับเทคโนโลยียุคดิจิตัลเพื่อขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรม 4.0 จะช่วยให้สามารถบริหารจัดการกระบวนการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้แก่องค์กร ลดต้นทุนการผลิต ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นตลอดกระบวนการทำงาน ตั้งแต่การออกแบบ การจัดส่งวัตถุดิบ การผลิต จนกระทั่งการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
Dr. Gan Kai William Lee ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าด้านการฝึกอบรมบริษัท The SMART Methodology Company จากประเทศสิงคโปร์ได้บรรยายถึงแนวคิดการ “เปลี่ยน” กระบวนการ Lean ไปสู่รูปแบบดิจิทัลในยุคอุตสาหกรรม 4.0 โดยได้เริ่มต้นอธิบายถึงปัจจัยที่ทำให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่ Industry 4.0 ประสบความสำเร็จ ได้แก่ ทรัพยากรมนุษย์(People) กระบวนการ(Process) และเทคโนโลยี (Technology)ที่จะทำให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพ(Productivity) มากยิ่งขึ้น ซึ่งกระบวนการผลิตแบบลีน (Lean) ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 จะมีการเปลี่ยนรูปแบบเพื่อให้สอดรับกับยุคดังกล่าว ที่ปรับเปลี่ยนจาก Mass Production ไปสู Mass Customization
สำหรับ Lean เป็นเรื่องของกระบวนการที่ทำให้มองเห็นความลื่นไหล หรือ Flow ในระบบการผลิต ที่ได้รับความนิยมในภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างสูง มีการป้องกันความผิดพลาด ตลอดจน Reactive Controls หรือ การตอบสนองเมื่อได้รับการป้อนข้อมูล และเมื่อหันกลับมาพิจารณาLean ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 จะพบว่า มีการเพิ่มรูปแบบ Proactive Controls หรือ การนำความสามารถทางดิจิทัล หรือเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ในระบบ Lean นั่นเอง
กุญแจแห่งความสำเร็จเพื่อพัฒนา Lean ไปสู่ 4.0
Key Success ที่จะช่วยไขความลับแห่งความสำเร็จในการเปลี่ยนระบบ Lean ไปสู่ 4.0 ได้แก่การนำเทคโนโลยีAddictive Manufacturing หรือ 3D Printing เข้ามาใช้ ซึ่งเป็นการเพิ่มวัตถุดิบในกระบวนการผลิต โดยไม่ต้องลดออกตามรูปแบบการผลิตเดิม อีกทั้งเทคโนโลยีนี้ยังจะช่วยลดจำนวนสถานีในการทำงาน (Work Station) ลง ตัวอย่างเช่น หากในอดีตโรงงานมีสถานีการทำงานประเภท กลึง เจาะ ตัด แต่เมื่อนำเทคโนโลยี Addictive Manufacturing มาใช้ ก็จะเหลือเพียงแค่สถานีการทำงานเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น เพราะAddictive Manufacturing จะสามารถขึ้นรูปชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์ได้ในครั้งเดียว
อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของ Digital Lean คือ Autonomous Robot คือเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะสามารถกำหนดสี หรือดีไซน์ของผลิตภัณฑ์ได้ด้วยตัวของมันเอง แต่ก็ยังต้องการการนำเข้าข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น Big Data และระบบ Sensors ต่างๆ ที่จะผลักดันข้อมูลไปให้กับหุ่นยนต์หรือเครื่องจักร ซึ่งจะนำไปสู่ System Integration ที่กระบวนการทำงานจะสามารถเชื่อมต่อกันได้
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งนำมาปรับใช้ในระบบ Lean เพื่อมุ่งสู่ ดิจิทัลด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Simulation ซึ่งเป็นการออกแบบกระบวนการให้สามารถออกแบบกระบวนการ และมองเห็นได้ก่อนลงมือทำจริงในกระบวนการผลิต ตลอดจน Augmented Reality ซึ่งเทคโนโลยีที่ผสานโลกจริงกับโลกเสมือนผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้ามาสนับสนุนในการเปลี่ยนผ่านระบบ Lean ไปสู่ 4.0
สำหรับคอนเซปต์ของ Lean คือการเก็บสินค้าให้น้อยลง ซึ่งสำหรับความต้องการของลูกค้าในแบบ Mass Production ก็จะสามารถส่งออกสินค้าให้ไหลออกไปได้โดยไม่มีการเก็บสินค้าค้างไว้ แต่สำหรับรูปแบบความต้องการในปัจจุบันที่เปลี่ยนไปสู่ Mass Customization ตามแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 ทำให้มีความซับซ้อนในการผลิตมากยิ่งขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ในระบบลีน จะเปลี่ยนรูปแบบการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคอนาคตได้อย่างประสบความสำเร็จ


5 เทคโนโลยีรองรับ Digital Lean   

Dr. William Lee ยกตัวอย่าง 5 เทคโนโลยี” ที่เริ่มต้นนำมาใช้เมื่อเข้าสู่ยุค “Digital Lean”ซึ่งล้วนแต่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
1.Robot Assisted Productionหุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานที่มีความซับซ้อน ซึ่งสามารถทำงานได้ในจุดเดียว ซึ่งจะเป็นการยุบสถานีการทำงาน (Work Station) ให้น้อยลง ลดการใช้เวลาและเพิ่มความต่อเนื่องในการทำงาน
2.Predictive Maintenanceคือการประยุกต์นำเซนเซอร์ไปติดตั้งไว้ในจุดหรืออุปกรณ์ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเสื่อมสภาพ เช่น เซ็นเซอร์แจ้งเตือนให้เปลี่ยนแปลง เพราะตรวจสอบได้ว่าดอกยางเล็กลง
3. Addictive Manufacturing หรือ 3D Printing จะส่งผลให้สามารถมุ่งสู่การผลิตแบบ Mass Customization ได้เร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความเฉพาะตัวได้ในปริมาณมาก ตลอดจนเกิดการร่วมมือกันในด้านงานดีไซน์และโครงสร้างทางวิศวกรรมระหว่างลูกค้าและผู้ผลิต
4.Machine as a Serviceหมายถึง ต่อไปจะไม่ได้ซื้อขายตัวผลิตภัณฑ์ แต่จะเป็นการซื้อขายด้านการให้บริการ หรือ Service ซึ่งในอนาคตเครื่องจักรต่างๆ จะเปลี่ยนรูปแบบโมเดลธุรกิจ ไปสู่การซื้อการให้บริการมากยิ่งขึ้น ดังที่เราจะเห็นตัวอย่างจาก Uber และมักจะมีการเรียกเทรนด์การให้บริการเหล่านี้ว่าเป็นกระแส Uberlization นอกจากนี้ การให้บริการเครื่องจักรในอนาคตไม่จำเป็นต้องมีช่างในโรงงานประจำ แต่เป็นการเรียกช่างมาให้บริการเมื่อเครื่องจักรเสียแทน
5.Big Data เราสามารถนำเทคโนโลยีต่าง ๆ ดังเช่นระบบเซนเซอร์ เข้ามาใช้เพื่อช่วยในการควบคุมกระบวนการผลิต และได้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์คุณภาพ ว่าจะดีหรือไม่ดี จะขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนใดบ้าง ส่งผลให้การผลิตมีความแม่นยำมากขึ้น
Dr. William Lee ได้นำเสนอถึง Stages of Improvement ซึ่งหากเราจะเปลี่ยนหรือ Transform ไปยังอุตสาหกรรม 4.0 เราจะมองเห็นขั้นตอนตั้งแต่ระยะสั้น (Short-term) ไปยังระยะยาว (Long-term)
ขั้นที่ 1 Operational Efficiency ซึ่งเน้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้กระบวนการมีประสิทธิภาพ
ขั้นที่ 2 New Products and Services การมองไปถึงการสร้างโมเดลธุรกิจด้วยนวัตกรรมและบริการใหม่ ๆ
ขั้นที่ 3 Outcome Economy เป็นการเปลี่ยนรูปแบบจากการขายเพียงแต่ตัวผลิตภัณฑ์ ไปสู่การขายผลลัพธ์ที่ลูกค้าต้องการ ผ่านการบริการควบคู่ไปด้วย โดยมีการใช้เทคโนยีต่างๆ เข้ามาช่วยสนับสนุนให้เกิดความพึงพอใจของลูกค้าในขั้นสูงสุด

ขั้นที่4 Pull Economyในอนาคต ลูกค้าจะเป็นผู้เลือกผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่ต้องการจากโรงงาน และมีการเชื่อมต่ออัตโนมัติในทุกกระบวนการ ตลอดต้นทางถึงปลายทาง ตลอดจนมีกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรเพื่อให้เหมาะสมกับองค์กรมากที่สุด

ข้อมูลจาก HUNT Magazine

Comments