เทคนิคการประหยัดพลังงานในระบบอัดอากาศ

เทคนิคการประหยัดพลังงานในระบบอัดอากาศ


ก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่องเทคนิคการประหยัดพลังงานในระบบอัดอากาศ ผมขอกล่าวถึงมาตรฐานอุตสาหกรรม ISO50001: V.2011 ซึ่งเป็นเรื่องสำาคัญประการหนึ่งของการประหยัดพลังงาน โดย ISO 50001 คือระบบการจัดการพลังงานตามมาตรฐานสากล (Energy Management System) หรือเรียกย่อๆว่า EnMS ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554 (ISO50001: V.2011) โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization of Standardization -ISO) โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้องค์กรต่างๆ ดำาเนินการปรับปรุงสมรรถนะพลังงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas - GHG) และอื่นๆ ที่จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม รวมถึงการลดต้นทุนด้านพลังงาน ซึ่งให้มีการดำาเนินการในการปรับปรุงและสามารถขอการรับรองจากองค์กรที่รองรับอย่างสมัครใจการขอการรับรองมาตรฐาน ISO 50001: V.2011การขอการรับรองมาตรฐานการจัดการพลังงาน ISO50001: V.2011 มีแนวปฏิบัติเช่นเดียวกับมาตรฐานการจัดการอื่นๆ โดยหน่วยงานที่ให้การรับรองระบบได้เราเรียกว่า หน่วยรับรอง (Certifi cation Body - CB) ซึ่งประเทศไทยมีอยู่หลายหน่วยงานที่ให้การรับรองได้ เช่น BV, URS, TUVnord เป็นต้น ซึ่งสถานประกอบการต้องคัดเลือกและว่าจ้างหน่วยรับรอง CB ที่ต้องการขอการรับรอง (Certifi cation) และกำาหนดแผนงานในการตรวจรับรอง โดยการตรวจรับรองจะมี 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการตรวจประเมินความพร้อม เรียกว่า The First Stage Audit ผลสรุปจากการตรวจครั้งแรกคือ Ready หรือ Not Ready ถ้า Ready ก็สามารถตรวจในขั้นที่ 2 ได้ ซึ่งเรียกว่า The Second Stage Audit หรือ “Certifi cation Audit” ถ้าตรวจผ่านก็จะได้รับการรับรอง ถ้าไม่ผ่านต้องแก้ไขข้อบกพร่องนั้นภายใน 90 วัน จึงจะได้รับการรับรองฯหลังจากนั้นจะต้องมีการตรวจรายปี (Surveillance Audit) โดยรอบของการตรวจเพื่อการขอการรับรองใหม่ (Recertifi cation Audit) จะเกิดขึ้นทุกๆ 3 ปี ก่อนเอกสารแสดงการรับรองระบบ (Certifi cate) หมดอายุ กระบวนการในการตรวจรับรองแสดงในรูปที่ 1


รูปที่ 1 แผนผังกระบวนการตรวจเพื่อขอการรับรอง ISO 50001: V.2011

ข้อกำหนดมาตรฐานการจัดการพลังงาน ISO 50001: V.2011


ข้อกำหนดในมาตรฐานระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001: V.2011 โดยสังเขปจะทำาการแบ่งหัวข้อในการกำาหนดออกเป็น 4 ส่วน ตามวงล้อ PDCA (Plan-Do-Check-Act) ดังแสดงในรูปที่ 2

รูปที่ 2 แสดงแผนภาพกระบวนการ¢องมาตรฐานระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001: V.2011

ระบบมาตรฐานการจัดการพลังงานกำาหนดให้ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ระบุขอบเขต (Scope) ซึ่งหมายถึง กระบวนการหรือกิจกรรมที่ต้องการขอการรับรอง และขอบเขตของโครงการ (Scope of Project) ซึ่งหมายถึง ที่ตั้ง ของหน่วยงาน หรือองค์กรที่ต้องการขอการรับรอง โดยผู้บริหารสูงสุดจะประกาศแต่งตั้งผู้แทนฝ่ายบริหารพลังงาน (EnMR) และผู้แทนฝ่ายบริหารพลังงานจะสรรหาคณะทำางานด้านการจัดการพลังงานเพื่อร่วมดำาเนินการจัดทำาระบบการจัดการพลังงาน พร้อมทั้งประกาศนโยบายพลังงานขององค์กร จากนั้นองค์กรต้องจัดให้มีการวางแผนพลังงาน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการทบทวนการบริหารงาน ให้สอดคล้องกับนโยบายพลังงาน และเกิดการปรับปรุงด้านสมรรถนะพลังงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดดังนี้
• การวางแผนพลังงาน (Plan)
• การปฏิบัติ (Do)
• การตรวจสอบ (Check)
• การทบทวน (Act)

การวางแผนพลังงาน

โดยการตรวจวัดและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงาน และปริมาณการใช้พลังงาน เพื่อทำการบ่งชี้การใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ (Signifi cant Energy of Used: SEU) ขององค์กร และกำาหนดข้อมูลฐานพลังงานอ้างอิง (Energy Baseline) ดัชนีวัดสมรรถนะพลังงาน (EnPls) และสมรรถนะพลังงานในปัจจุบันของกระบวนการ หรือเครื่องจักรหลักในพื้นที่การใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญนั้น เพื่อบ่งชี้โอกาสในการปรับปรุงสมรรถนะพลังงานขององค์กร โดยต้องกำหนดเป็นวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนงานด้านพลังงานให้สอดคล้องกับนโยบายพลังงาน กฎหมาย และข้อกำาหนดที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ด้วย กระบวนการในการวางแผนพลังงานแสดงในรูปที่ 3

การปฏิบัติ

หมายถึงการดำเนินการตามแผนปฏิบัติด้านพลังงาน ซึ่งครอบคลุมถึงการดำเนินการด้านอื่นๆ ที่จะทำให้ระบบการจัดการพลังงานมีความยั่งยืน ดังนี้
- ด้านความสามารถ การฝึกอบรม และความตระหนัก
- ด้านของจิตสำานึกด้านพลังงานของคนในองค์กร
- การสื่อสารทั้งภายในและภายนอกขององค์กร
- ด้านระบบเอกสาร และต้องดำเนินการจัดการทำเอกสารให้สอดคล้องกับข้อกำหนดและการควบคุมเอกสาร
- ด้านการควบคุมการปฏิบัติงานและการบำารุงรักษาเฉพาะกระบวนการหรือเครื่องจักรที่มีนัยสำาคัญ และมีผลกระทบต่อสมรรถนะทางด้านพลังงาน (SEU) ถ้ามีความจำาเป็นก็ควรกำหนดวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติงานของแต่ละขั้น และแต่ละอุปกรณ์ เช่น วิธีการเริ่มเดินเครื่องปั้มลม เป็นต้น
- ด้านการออกแบบและจัดซื้อจัดจ้าง สำหรับกระบวนการเครื่องจักรที่มีนัยสำคัญและมีผลกระทบต่อสมรรถนะด้านพลังงาน (SEU) รวมไปถึงการบริหารด้านพลังงาน

การตรวจสอบ

เป็นกระบวนการในการตรวจสอบ ติดตาม และเฝ้าระวังให้เชื่อมั่นได้ถึงการคงอยู่ของระบบการจัดการพลังงานขององค์กรและมีสมรรถนะทางพลังงานที่ดี โดยการกำหนดแผนการในการเฝ้าระวัง การตรวจสอบ และการเฝ้าติดตามตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อสมรรถนะทางพลังงาน การตรวจสอบ การติดตามความสัมฤทธิ์ผลของวัตถุประสงค์ และเป้าหมายทางด้านพลังงาน โดยการตรวจวัดและเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัด จะต้องมีความเที่ยงตรงและแม่นยำ การตรวจสอบยังรวมไปถึงการตรวจประเมินภายในองค์กรของระบบการจัดการด้านพลังงานที่ต้องทำทุกปี หากพบข้อบกพร่องหรือแนวโน้มที่จะเกิดข้อบกพร่อง จะต้องดำเนินการปฏิบัติการแก้ไข และจัดทำานโยบายในการป้องกัน

รวมถึงการทบทวน โดยองค์กรต้องดำเนินการทบทวนนโยบายของระบบประหยัดพลังงานโดยฝ่ายบริหารทุกๆ ปี เพื่อสร้างให้เกิดความมั่นใจได้ว่าระบบการจัดการพลังงานยังคงอยู่มีการปรับปรุงและพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง

แนวคิดของสมรรถนะด้านพลังงาน

ในระบบของการจัดการด้านพลังงานตามมาตรฐานนี้มุ่งเน้นการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง โดยสมรรถนะด้านพลังงานภายในองค์กรนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้พลังงาน ปริมาณการใช้พลังงาน ความคงที่ของการใช้พลังงาน ประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และ อื่นๆ เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียน การนำพลังงานเหลือทิ้งมาใช้ใหม่ เป็นต้น

ดังนั้นการดำาเนินการปรับปรุงใดๆ ที่เกี่ยวข้องข้างต้น จึงถือว่าเป็นการปรับปรุงด้านสมรรถนะด้านพลังงานด้วย เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบต้นกำลังให้ได้ประสิทธิภาพและคุณภาพที่เหมาะสมกับแต่ประเภทของผลิตภัณฑ์ เพื่อควบคุมการใช้พลังงานได้อย่างเหมาะสม และยังคงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ถือว่าเป็นการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงานเช่นกัน เพราะส่งผลโดยตรงต่อความคงที่ของการใช้พลังงานที่ดีขึ้น



สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม domnick hunter-RL(Thailand)
02 678 2224 ต่อ 346 
www.domnickhunterrl.com



Comments