Legris Transair Advanced Air Pipe System ปฎิวัติระบบอัดอากาศเพิ่มประสิทธิภาพ สะอาดและประหยัด

Legris Transair Advanced Air Pipe System ปฎิวัติระบบอัดอากาศเพิ่มประสิทธิภาพ สะอาดและประหยัด

ในระบบการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ระบบอัดอากาศ หรือ Compressed air ถือเป็นต้นกำาเนิดพลังงานอย่างหนึ่งที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการขับเคลื่อนเครื่องจักร จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้พลังงานลมเข้าไปมีบทบาททดแทนระบบไฟฟ้า และระบบไฮโดรลิค (ใช้น้ำามัน) ได้อย่างดี เนื่องจากพลังงานลมนั้นปลอดภัย และประหยัดกว่า เพราะฉะนั้นคุณภาพของระบบอัดอากาศที่ดีจึงเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตที่ดีตามไปด้วย
ซึ่งในสภาวะการณ์ปัจจุบันที่มีความเข้มงวดของภาคการผลิตเน้นการเป็นอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ข้อจำกัดด้านกฎระเบียบ การควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิงพร้อมกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งปัจจัยหลังนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญในเชิงเศรษฐกิจขององค์กร เพราะถือเป็นการลดต้นทุนการผลิตที่สำคัญอีกด้วย ดังนั้นในภาคอุตสาหกรรมทุกวันนี้จึงหันมามองหาเทคโนโลยีที่สะอาด และเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตไปพร้อมๆกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวบ่งบอกถึงความสำเร็จและความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และการเติบโตในเชิงธุรกิจให้กับองค์กรในระยะยาว

ผลเสียของระบบท่อลมอัดแบบเดิมๆ

แม้คอมเพรสแอร์จะเป็นระบบหลักในสายการผลิต แต่การจ่ายลมอัดโดยใช้ท่อลมอัดแบบเดิมๆ นั้นมีข้อด้อย ทั้งในเรื่องของการใช้พลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานเชื้อเพลิงอื่นๆ ที่ค่อนข้างสูง เป็นการสร้างภาระของต้นทุนการผลิตที่นับวันจะขยับเพิ่มสูงขึ้นตามราคาเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอดเวลา ที่สำคัญในระบบอัดอากาศที่ต้องใช้ท่อในการลำเลียงอากาศนั้น จากเดิมมีการใช้วัสดุหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นท่อเหล็กชุบสังกะสี ท่อยาง ท่อพลาสติก หรือท่ออลูมิเนียม ซึ่งท่อแต่ละชนิดมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน อาทิ เกิดรูรั่ว การแตก และหักได้ง่าย ทำาให้ประสิทธิภาพของการจ่ายลมลดลง รวมถึงทำให้ต้องใช้พลังงานสิ้นเปลืองมากขึ้น บางครั้งโรงงานต้องมีการปรับปรุงระบบการผลิต หรือการปรับย้ายเครื่องจักร ทำให้ต้องมีการวางระบบท่อลมใหม่ ซึ่งท่อบางชนิดยากต่อการตัดต่อ หรือการปรับเปลี่ยน ตัวอย่างเช่น ท่อเหล็กชุบสังกะสี เมื่อมีการใช้ไปนานๆ ท่อชนิดนี้มีโอกาสที่จะเกิดการกัดกร่อน ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ถ่ายประจุไฟฟ้าและเกิดรู ทำให้มีการรั่วไหลของอากาศจำนวนมาก ส่วนท่อเหล็ก หรือท่อพลาสติก ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นคือการรั่วไหลที่เกิดจากการหดและขยายตัวของเหล็กและพลาสติกนั่นเอง


Transair Legris นวัตกรรมเพื่อการกระจายลมอัด

ด้วยปัญหานานาประการที่เกิดขึ้นกับระบบลมอัดแบบเดิมๆ บริษัทปาร์คเกอร์ ฮันนิฟิน คอร์ปอเรชั่น ผู้ผลิต Transair Legris จึงได้มีการคิดค้นและปรับปรุงผลิตภัณฑ์คอมเพรสแอร์ที่สามารถแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นได้ในทุกจุด แถมได้ลมที่สะอาดมากขึ้น เนื่องจากท่อของ Transair Legris ทำจากอลูมิเนียมที่มีความราบเรียบ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายลมสู่เครื่องจักรในระบบการผลิต สามารถเชื่อมต่อได้รวดเร็ว โดยส่วนของข้อต่อจะมีระบบการซีลกันรั่วที่ดีและสมบูรณ์แบบ สามารถป้องกันการรั่วไหลของอากาศที่มักจะเกิดขึ้นบริเวณเกลียวหรือรอยเชื่อม ซี่งยังมีความเครียดทางกลเหลืออยู่
นอกจากนั้น Transair Legris ยังมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการคำนวนประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน ที่ผู้ผลิตสามารถทราบได้ทันทีถึงปริมาณพลังงานที่ใช้ พร้อมคำนวนต้นทุนพลังงานได้แบบทันที เมื่อระบบเริ่มทำงานและเครื่องจักรเริ่มเดินสายการผลิต ซอฟต์แวร์จะทำการคำนวณข้อมูลคอมเพรสเซอร์ R01จาก แรงดัน, กำลังไฟฟ้า, พลังงาน, ข้อมูลจำนวนชั่วโมงใช้งานในแต่ละปี, ประเภทของ Air dryer, ประเภทของการเปิดหรือปิดวงจร, วัสดุท่อที่ใช้ทำท่อ และค่าใช้จ่ายของพลังงานไฟฟ้า ซึ่งโดยทั่วไป การลงทุนในระบบลม ตัวปั๊มลมคิดเป็นแค่ประมาณ 10% ของการลงทุนทั้งหมด อีก 15% เป็นเรื่องของการบำรุงรักษา ที่เหลือ 75% จะเป็นการลงทุนในค่าไฟฟ้าซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงมาก ดังนั้นถ้าสามารถลดการรั่วของท่อลมได้ จะสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึง 42% จากการปรับปรุงระบบลมทั้งหมด
จึงกล่าวได้ว่า Transair Legris เป็นนวัตกรรมทางด้านลมอัดที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้ได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด

กรณีศึกษาของฟอร์ดกับการเลือกใช้ Transair Legris

โรงงาน Dagenham ในแคว้นเอสเซ็กซ์ ประเทศอังกฤษเป็นโรงงานผลิตเครื่องยนต์ดีเซลฟอร์ด สำหรับตลาดในยุโรป และเป็นการผลิตเพื่อรองรับการผลิตรถแวน กระทั่งรถระดับไฮเอนด์อย่าง S จากัวร์ โดยที่นี่เป็นโรงงานใหม่ล่าสุดที่มีการลงทุนถึง 350 ล้านเหรียญยูโร มีกำลังการผลิตเครื่องยนต์ 575,000 เครื่อง ทั้งรุ่นเครื่องยนต์ 1.4 ลิตร และเครื่องยนต์1.6 ลิตร
ซึ่งโรงงานใหม่แห่งนี้มีการติดตั้งระบบอัดอากาศโดยได้ ตั้งเกณฑ์ในการเลือกใช้ว่า จะต้องเป็นระบบอัดอากาศที่ประหยัดค่าใช้จ่าย และลดเวลาในการติดตั้งลง โดยจะมีการพิจารณาจากระบบท่อ ระบบการจ่ายลมอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย และติดตั้งได้รวดเร็ว เนื่องจากโรงงานผลิตแห่งนี้ต้องการลม ที่จะอัดอากาศให้ทั่วทั้งพื้นที่การผลิต 33,000 ตารางเมตร
เนื่องจากบริษัทฟอร์ดเองก็เคยประสบปัญหาในระบบอัดอากาศ อย่างเช่น การใช้ระบบท่อเหล็กชุบสังกะสีที่มักจะมีปัญหาในเรื่องของการ ตัดต่อท่อเมื่อโรงงานต้องมีการปรับย้ายระบบต่างๆ หรือการใช้ท่อแบบพลาสติก ก็จะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก เนื่องจากท่อพลาสติกมักจะแตก ทำาให้ต้องมีการเปลี่ยนท่อใหม่อยู่เกือบตลอดเวลา หรือประสบการณ์จากการใช้ท่อยาง ก็ต้องมีการสำรองท่อจำานวนมาก ทำให้สภาพแวดล้อมในการผลิตไม่เป็นระเบียบ
ซึ่งสุดท้ายบริษัทฟอร์ดได้เลือก Transair Legris เป็นระบบท่อใน การลำเลียงการอัดอากาศ (Compressed Air) ที่จะ Supply ในระบบเพื่อป้อนให้กับเครื่องจักรกล 3000 เครื่อง ในไลน์การผลิต โดยที่ผ่านมาการใช้ระบบลมอัดของ Transair Legris ได้มีการนำาไปใช้ในสายการผลิตเครื่องยนต์ Lion v6 ที่ให้ประสิทธิภาพในเรื่องของระบบข้อต่อที่ทำได้รวดเร็ว ได้มาตรฐานจาก Lamb Technicon ซึ่งเป็นวิธีการที่สะดวกและรวดเร็วที่สุด ซึ่งระบบนี้ได้มีการทดลองถอดแยก และประกอบ เพื่อขนส่งไปทั่วโลก และสามารถประกอบเข้าใหม่อีกครั้งก่อนการใช้งาน
โดยมีการถอดท่อ Galvanize ออกจากสายการผลิตเครื่องยนต์โดยท่อ Galvanize 200 mm. สำาหรับไลน์ Main และไลน์ย่อย ของ Ladder เปลี่ยนมาใช้ท่อ Transair Legris ที่เป็นอลูมิเนียมที่น้ำาหนักเบา โดยแทนที่ด้วยการติดตั้งท่อขนาด 40 mm. ที่นำามาใช้เป็นส่วนหัวไลน์ และต่อลงไปที่ท่อขนาด 25 mm. และขนาด16.5 mm. ใช้งานในระบบที่มีแรงดัน 6 บาร์ (Bar)

Transair Legris ลดเวลาและประหยัดทันที

จุดเด่นของ Transair Legris ที่สัมผัสได้ทันทีหลังการติดตั้ง อย่างเช่น กรณีของการเชื่อมต่อระบบท่อของ Transair Legris ใช้งานได้ดีกับท่อ Galvanize ที่ใช้เวลาเพียง 8 วัน ลดเวลาลงได้ถึง 72 ชั่วโมง นอกจากนั้นการบริการของ Legris ในการจัดหาท่อได้ทุกขนาด และมีความยาวมาตรฐาน 6 เมตร แทนความยาว 3 เมตรได้ดีโดยไม่ต้องใช้ข้อต่อเลย สำหรับข้อต่อ Legris ก็ยังสามารถที่จะจัดหาท่ออลูมิเนียมเคลือบสีขาวแทนสีฟ้าที่เป็นมาตรฐาน สำหรับใช้ใน clean room ในอาคารประกอบเครื่องยนต์ขั้นตอนสุดท้ายได้
นอกเหนือจากประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานที่สูงในการใช้งานแล้ว Transair Legris ยังมีน้ำหนักเบา ช่วยในการประหยัดพลังงานมากกว่าท่อ Galvanize พิสูจน์ได้จากไลน์การผลิตของ Lion Engine ซึ่งท่อขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 16.5 mm. ของ Transair จะมีลักษณะการไหลแบบเดียวกัน โดยปราศจากน้ำหนัก สามารถนำไปยึดติดกับผนังที่เชื่อมต่อในระดับที่เหมาะสมในแต่ละเครื่องจักร ซึ่งขึ้นอยู่กับ 550 service drops และสามารถที่จะประหยัดค่าแรงในการ ติดตั้งท่อ Galvanize

นอกจากนั้นการพัฒนาความร่วมมือระหว่าง SE กับ Transair เป็นไปด้วยดี สามารถสร้างระบบท่อให้อยู่ในตำาแหน่งจากหัวไลน์ ส่งไปสู่เครื่องแต่ละเครื่องยาว 40 mm. โดยไม่จำเป็นต้องใช้ข้องอเพิ่มขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์และเวลาการติดตั้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตลงได้

สนใจติดต่อบริษัท domnick hunter-RL (Thailand) Co.,Ltd.
02-678-2224 ต่อ 346 (ฝ่ายการตลาด)


สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม domnick hunter-RL(Thailand)
02 678 2224 ต่อ 346 
www.domnickhunterrl.com



Comments