เครื่องอัดอากาศ ประหยัดพลังงาน


เทคนิคการประหยัดพลังงานในระบบอัดอากาศ

ในการประหยัดพลังงานในระบบอัดอากาศ การใช้พลังหลักในเครื่องอัดอากาศมาจากขนาดของมอเตอร์ที่ทำหน้าที่กับชุด “ Airend ’’ ให้ทำการผลิตแรงดัน ซึ่งในการจะเลือกเครื่องอัดอากาศให้ประหยัดพลังงาน ปัจจัยที่สำคัญคือ การเลือกขนาดของเครื่องที่เหมาะสม ไม่ใหญ่จนเครื่องมีสภาวะ “Unload’’ มากกว่าสู่สภาวะ “load’’ และการกำหนดแรงดันใช้งานที่เหมาะสม เพราะทุกแรงดันใช้งานจะส่งผลถึงพลังงานที่จะต้องจ่ายให้กับเครื่องอัดอากาศ โดยประมาณทุกแรงดันที่ 1 bar จะเท่ากับพลังที่ต้องให้กับมอเตอร์ที่ 7%

เครื่องเพิ่มแรงดัน Booster

1.       เครื่องเพิ่มแรงดันแบบ (Pressure Booster) อาศัยแรงดันของตัวมันเองเพิ่มแรงดันใหม่
2.       เครื่องเพิ่มแรงดันแบบ (Motor Booster Pump) เครื่อง เพิ่มแรงดันแบบบู๊ตเตอร์ปั๊มนั้น ลักษณะทั่วไปคล้ายกับเครื่องอัดอากาศชนิดลูกสูบ เพียงแต่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผลิตแรงดันให้สูงกว่า
3.       ระบบควบคุมเครื่องอัดอากาศ เครื่องอัดอากาศมีระบบควบคุมที่แตกต่างกัน การเลือกระบบควบคุมที่เหมาะสมจะช่วยให้สามารถช่วยประหยัดพลังงานของเครื่องอัดอากาศได้

การเลือกใช้เครื่องอัดอากาศและอุปกรณ์ในระบบอัดอากาศที่เหมาะสม

เราสามารถเลือกเครื่องอัดอากาศจากปริมาณอากาศอัดที่ต้องการใช้และค่าความดันที่ต้องการใช้งาน ซึ่งเครื่องอัดอากาศแต่ละประเภทให้ปริมาณอากาศอัดและความดันที่ต่างกัน ถังจะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอากาศอัดและแรงดันอากาศ ได้จากตารางข้างต้น

การเลือกเครื่องอัดอากาศให้เหมาะสมกับความต้องการ

1. ขนาดของเครื่องอัดอากาศ หมายถึง ปริมาณอากาศอัดที่เครื่องสามารถผลิตได้ ณ ความดัน ( Pressure ) ต่างๆ ดูได้จาก Name Plate
2. อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ตามโรงงานโดยทั่วไปใช้แรงดัน 4-6 bar ก็ควรเลือกใช้เครื่องอัดอากาศที่ผลิตแรงดัน 7-8 bar
3. ไม่ควรใช้เครื่องอัดอากาศที่ทำาแรงดันสูงๆ เพื่อรองรับโหลดที่ใช้แรงดันสูงพิเศษ ซึ่งเราสามารถใช้อุปกรณ์ปรับเพิ่มแรงดัน ( Booster Regulator ) เข้าไปใช้งานเฉพาะจุดได้
4. การเลือกเครื่องอัดอากาศที่สามารถผลิตอากาศอัดได้ตามความต้องการของโหลด ( Volume ) และกับการใช้งาน
5. ควรพิจารณาในการเลือกชนิดตัวควบคุมของเครื่องอัด อากาศให้เหมาะกับงาน


หน้าที่ของถังเก็บอากาศอัด

- เก็บอากาศอัดและลดการกระเพื่อมของแรงดันอากาศอัดจากคอมเพรสเซอร์
- สามารถชดเชยความต้องการของโหลดในลักษณะ Peak Load ได้
- ช่วยลดการตัดต่อของคอมเพรสเซอร์ที่บ่อยเกินไป
- ช่วยระบายความร้อนของอากาศอัด และเป็นจุดกลั่นตัวของน้ำและน้ำมัน

การเลือกขนาดท่อส่งจ่ายอากาศอัดและการติดตั้งใช้งาน

ในการติดตั้งท่อลม การติดตั้งให้เป็นแบบ Ring load เพื่อเป็นการ balance แรงดันภายในท่อไม่ให้ตก เพราะหาก Straight liner แรงดันที่ปลายท่อจะตก เพราะสูญเสียไปกับการใช้งานในช่วงต้น

โดยปกติการต่อท่อเมนส่งจ่ายอากาศอัด สามารถทำได้ 2 วิธี

1. การต่อท่อเมนส่งจ่ายอากาศอัดแบบท่อเดียวหรือแบบก้างปลา

2. การต่อท่อเมนส่งจ่ายอากาศอัดเป็นแบบวงแหวน 
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม domnick hunter-RL(Thailand)
02 678 2224 ต่อ 346 
www.domnickhunterrl.com

Comments