Compressed Air Filtration



Compressed Air Filtration

ในโรงงานอุตสาหกรรม ระบบอากาศอัด (compressed air) นั้นถูกนํามา ใช้อย่างแพร่หลาย โดยที่ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของโรงงานอุตสาหกรรมนั้นจะ มีระบบอากาศอัดในขึ้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการทํางาน ระบบอากาศ อัดถือเป็นระบบสาธารณูปโภคที่สําคัญชนิดหนึ่งรองจาก ระบบไฟฟ้า ระบบก๊าซ ธรรมชาติ และระบบน้ำ โดยระบบอากาศอัดนั้นมีข้อดี เช่น สะดวกในการใช้งาน รวดเร็ว ปลอดภัย และประหยัด
อากาศที่เราใช้เพื่อหายใจนั้นประกอบไปด้วยสิ่งเจือปนต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น มลพิษ, น้ำ, สิ่งมีชิวิตขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และสาร เคมี สิ่งเหล่านี้เมื่อเข้าสู่กระบวนการอัดอากาศหรือคอมเพรสเซอร์ เนื่องจาก เป็นการอัดอากาศที่บรรยากาศทั่วไปให้มีความดันมากขึ้นกว่าปกติหลายเท่าตัว ทําให้ปริมาณสิ่งเจือปนที่มีอยู่ในอากาศอยู่แล้วนั้น มีความเข้มข้นมากขึ้น และ เป็นอันตรายมากยิ่งขึ้น
สิ่งเจือปนต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อระบบอากาศอัดประกอบไปด้วยสิ่งเจือปนชนิดแข็ง จะก่อให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์และท่อ ทําให้ระบบเกิดความเสียหายและก่อให้เกิดสิ่งเจือปนมากยิ่งขึ้น สิ่งเจือปนเหล่านี้ประกอบ ไปด้วย เกร็ด, สารประกอบชนิดโลหะ และสิ่งสกปรกต่างๆ ซึ่งจะทําให้เกิดการสึก กร่อนของอุปกรณ์ในระบบ, ซีลชํารุด, ลดประสิทธิภาพของอากาศ, ทําลายสินค้า
ละอองของเหลวและน้ำ เนื่องจากคอมเพรสเซอร์มี การใช้ความร้อนในการอัดอากาศ ทําให้อากาศอัดที่ได้มีความร้อน จึงมีการใช้ aftercooler เพื่อทําให้อากาศเย็นลง ในขึ้นตอน นี้ทําให้เกิดน้ำเป็นจํานวนมาก น้ำเหล่านี้ถ้าไม่ทําการกําจัดออก จะก่อให้เกิดการกัดกร่อน และความเสียหายต่ออุปกรณ์ต่างๆ ในระบบ
สารเคมี ไม่ว่าจะเป็นเฉพาะแค่สารเคมี หรือว่ามีการ ผสมเข้ากับสิ่งเจือปนอื่นๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดความเสียหาย หรือก่อให้เกิดความเสี่ยงในกระบวนการ หรือต่อตัวพนักงานได้ สารเคมีที่พบในระบบอากาศอัดประกอบไปด้วย คลอรีน, ซัลเฟอร์, คาร์บอนไดออกไซด์, ไฮโดรคาร์บอน, คาร์บอนมอนออกไซด์ สิ่งเจือปนเหล่านี้ไม่เพียงแค่สร้างความเสียหายให้ กับระบบท่อลมเท่านั้น แต่ยังทําให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ระบบนั้นเพิ่มมากขึ้น อาจทําให้เครื่องจักรเกิดความเสียหาย และกระทบต่อคุณภาพของสินค้าในกระบวนการการผลิตได้ ดังนั้นในกระบวนการผลิตสินค้า จึงมีความจําเป็นที่จะต้องใช้ งานอากาศที่มีคุณภาพ คือเป็นอากาศที่สะอาด ปราศจากสิ่งเจือปนต่างๆ และต้องเพียงพอต่อความต้องการตามมาตรฐาน การผลิตสินค้าชนิดนั้นๆ ด้วย จึงมีการใช้อุปกรณ์กรองอากาศ อัดหรือ Filter ซึ่งเป็นอุปกรณ์เบี้องต้นที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย มาติดเข้าไปในระบบอากาศอัด วัตถุประสงค์ก็เพื่อดัก จับสิ่งสกปรกหรือสิ่งเจือปนต่างๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพของอากาศ ที่จะนําไปใช้งาน

อุปกรณ์กรองอากาศอัดแบ่งเป็นชนิดต่างๆ ดังนี้
Compressor Intake Filter เป็นการป้องกันชั้นแรก สุดที่ต้นทางของเครื่องอัดอากาศ โดยกรองสิ่งปนเปื้อนที่เป็น ของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 3 ไมครอน และสามารถกรองสาร เคมีได้บางชนิด
Compressor Air/Oil Separator หลังจากมีการอัด อากาศแล้ว โดยทําการแยกน้ํา หรือละอองน้ําที่มีขนาดใหญ่กว่า 3 ไมครอน Coalescing Filter ทําหน้าที่ดักจับละอองน้ำและน้ำมัน โดยทําให้เกิดการรวมตัวของละอองจนกลายเป็นหยดน้ำ โดยละอองเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดหยดน้ำขึ้นในระบบ เนื่องจากความดันที่ลดลง
Coalescing Filter นั้นสามารถกรอง ละอองน้ำและของเหลวได้ แต่ไม่สามารถกรองไอน้ำได้
Particulate Filter ทําหน้าที่กรองสิ่งปนเปื้อนที่มี ขนาด 1-3 ไมครอน ติดตั้งก่อนที่อากาศจะผ่านเข้าสู่เครื่องดูด ความชื้น desiccant

Charcoal Filter ทําหน้าที่ดักจับสารอินทรีย์ต่างๆ ที่ ก่อให้เกิดกลิ่น การเลือกติดฟิลเตอร์ที่เหมาะสมนั้นมีผลต่อ กระบวนการผลิตอย่างยิ่งตามคุณภาพของอากาศที่ต้องการ นําไปใช้ เนื่องจากฟิลเตอร์ตัวเดียวไม่สามารถที่จะกรองสิ่ง เจือปนทั้งหมดออกจากระบบได้ หากเพียงแต่กําจัดได้แค่บางส่วนเท่านั้น ดังนั้นถ้าหากมีความจําเป็นที่จะใช้อากาศที่มีคุณภาพสูง อาจจะทําให้ต้องมีการติดฟิลเตอร์มากขึ้น และติดหลากหลายชนิดมากขึ้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่า คุณภาพอากาศที่ ออกมานั้นจะสะอาด และตรงตามมาตรฐานรของสินค้า


สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม domnick hunter-RL(Thailand)
02 678 2224 ต่อ 346 
www.domnickhunterrl.com




Comments